การเป็นช่างผมที่ดีนั้น อาจไม่ใช่เพียงการแต่งทรงได้สวยเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องรวมถึงการเข้าใจลึกซึ้งว่าวิชาชีพที่ทำอยู่ครอบคลุมองก์ความรู้ด้านใดบ้าง ยกตัวอย่าง “เส้นผม” รู้หรือไม่? เส้นผมของคนเรามีองค์ประกอบส่วนใหญ่ทำจากโปรตีนที่เรียกว่าเคราตินซึ่งเรียงตัวประกอบเป็น 3 ชั้น เส้นผมของเรามีค่า PH (ค่าความสมดุลระหว่างกรดและด่าง) ระหว่าง 4.5 ถึง 5.5 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเส้นผมของเราถือว่าเป็นกรด…เพียงบทเรียนแรกที่พวกเรานำมาก็น่าสนใจกันแล้วใช่มั้ยคะ ตามมารู้จักกับเส้นผมให้มากขึ้นกันดีกว่า
ชั้นนอกสุดเรียกว่า “คิวติเคิล” (Cuticle)
ประกอบด้วยเคราตินที่มีลักษณะคล้ายเกล็ดทับซ้อนกัน หน้าตาเกล็ดของเคราตินคล้ายกับเปลือกลูกสน ทำหน้าที่เหมือนหนังกำพร้า คอยป้องกันและช่วยให้โครงสร้างเส้นผมแข็งแรง ซึ่งเคราตินชั้นนอกนี้เองที่ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าหนังศีรษะและส้นผมมีสุขภาพดีหรือไม่ นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสวย นุ่ม และเงางาม
ชั้นกลางเรียกว่า “คอร์เท็กซ์” (Cortex)
ประกอบด้วยโปรตีนที่มีชื่อว่าเคราดิไนส์ (Keratinised) ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างของเซลล์ผม และยังเป็นชั้นที่หนาที่สุดของเส้นผมของเรา ในชั้นนี้จะมีเม็ดสีเมลานินตามธรรมชาติ ซึ่งเม็ดสีนี้นี่เองเป็นตัวกำหนดว่าเราเมื่อแรกเกิดเรามีเส้นผมสีอะไรก็จะเป็นไปตามพันธุกรรมและเชื้อชาติของเรา ซึ่งการทำสี ดัด ยืด ทำเคมีต่าง ๆ ที่พูดปากเปล่ากันว่าเกิดปฏิกิริยาที่แกนผม จริงๆ แล้วคือเกิดที่เนื้อผม เป็นชั้นกลาง
ชั้นแกนผมเรียกว่า “เมดุลลา” (Medulla)
แท้ที่จริงแล้วแกนผมกลวง…เมดุลลามีรูปทรงคล้ายหลอดกลวง เป็นช่องว่างที่ไม่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ สำหรับบางคนที่มีผมเส้นเล็กมากหรือสีบลอนด์ก็ไม่มีชั้นนี้นะคะ ดังนั้นการพูดว่าแกนผมอย่างที่ใช้กันทั่วไปจึงมักนับชั้นนี้เหมารวมกับชั้นที่ 2 เนื่องจากไม่มีความสำคัญที่ชัดเจนนั่นเอง
Credit : Salem Hair Co
เป็นยังไงกันบ้าง แค่บทเรียนแรกที่พวกเราทีมงาน HW+ รวมรวมข้อมูลกันมาก็สนุกและน่าสนใจขนาดนี้ การทำผมนั้นไม่ใช่แค่ศาสตร์ของศิลปะอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์น่ารู้อีกมากมายด้วย ซึ่งช่างผมมืออาชีพไม่ควรมองข้ามความรู้เหล่านี้เลย ในตอนต่อไปพวกเราจะเอาเรื่องอะไรมาฝาก ต้องติดตาม