ช่างผมฟรีแลนซ์คือกลุ่มอาชีพฟรีแลนซ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติเมื่อปี 2016 งานฟรีแลนซ์มีสัดส่วนกว่า 48% และจากปี 2017 ก็ขยายตัวเพิ่มเป็น 57% เกินกว่าครึ่งในธุรกิจการทำผมและเสริมสวยก็ว่าได้ จากบทสัมภาษณ์ของ Hillary Hall, NHF cheife executive ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า “รัฐบาลมีแผนงานที่จะตอบสนองต่อเรื่องนี้ก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อทบทวนแผนงานการปฏิบัติงานสมัยใหม่ซึ่งครอบคลุมถึงการจ้างงานตัวเองและการรับจ้างงานแบบครั้งคราวหรือที่เรียกว่า Gig Economy”
Gig Economy คืออะไร? เกี่ยวกับช่างผมฟรีแลนซ์อย่างไร?
ช่างผมฟรีแลนซ์ คืออาชีพในหมวด Gig ซึ่งเป็นคำแสลง หมายถึงการแสดงของนักดนตรีหรือวงดนตรีที่รับจ้างเป็นครั้ง ภายหลังหมายความรวมถึงงานประเภทอื่นที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวด้วย ดังนั้น Gig Economy จึงรวมถึงฟรีแลนซ์, พาร์ทไทม์, เอาท์ซอร์ส ไปจนถึงคนที่รับจ้างผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น คนขับ Uber เป็นต้น ลักษณะสำคัญของคนทำงานคือมีอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับงานหรือเวลาทำงาน โดยได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนงานที่ทำ ที่สหรัฐฯ สถาบันวิจัย Brookings เผยว่าการจ้างงานใน Gig Economy กำลังเติบโตรวดเร็วยิ่งกว่างานประจำ เป็นเทรนด์ที่มาแรงของยุคนี้ เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การจ้างงาน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในปัจจุบัน
ทำไมช่างผมจึงเปลี่ยนมาเป็นช่างผมฟรีแลนซ์?
ในปี 2018 อัตราการเป็นช่างผมฟรีแลนซ์ในกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้ส่งผลต่ออาชีพช่างผมทั่วโลกเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยอย่างแรกที่เราสามารถเห็นข้อดีได้คืออิสระในเรื่องของเวลา และเมื่อมองย้อนกลับไปอีกมุมในแง่ของนายจ้างผู้ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ การจ้างช่างผมฟรีแลนซ์สามารถช่วยลดต้นทุนในหมวดของเงินเดือนประจำกลายมาเป็นส่วนแบ่งตามตกลงแทน ซึ่งการดำเนินงานลักษณะนี้มีประโยชน์ต่อร้านทำผมขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นร้านเปิดใหม่ หรือร้านสไตล์บูทีคที่มีความเฉพาะเจาะจงมากๆ ด้วยเหตุนี้จึงำให้การเป็นช่างผมฟรีแลนซ์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นช่างผมฟรีแลนซ์อย่างไรให้มั่นคง?
1. สั่งสมความรู้
เมื่อเป็นช่างผมฟรีแลนซ์ สิ่งที่เราต้องรู้ตัวเองเสมอคือไม่สามารถปล่อยให้ตนเองตกเทรนด์หรือหยุดเรียนรู้ได้ เพราะเมื่อเข้าทำงาน แต่ละนายจ้างจะมีความคาดหวังว่าคุณสามารถเริ่มงานทดแทนในตำแหน่งนั้นๆ ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสยเวลาสอนงาน ดังนั้นอุปกรณ์, ผลิตภัณฑ์, เทรนด์, เทคนิคต่างๆ จึงควรอัพเดตสม่ำเสมอ
2. สั่งสมประสบการณ์
ช่างผมฟรีแลนซ์บางคนไม่ได้ทำงานทุกวันซึ่งจุดนี้ถือเป็นข้อด้อยเมื่อเทียบกับช่างผมประจำที่มีโอกาสพอเจอลูกค้าสม่ำเสมอ ทำให้ได้ฝึกมือตลอด อย่าลืมว่ากรทำผมคืออาชีพที่ต้องฝึกฝนฝีมือและขัดเกลาทักษะ ยิ่งทำมากคุณจะยิ่งพบว่าตัวเองเก่งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรหาเวลาฝึกมือเมื่อมีโอกาส หรือจะซื้อหัวหุ่นหลายๆ แบบไว้ทำในวันที่ไม่มีงานก็ได้
3. เอาลูกค้าให้อยู่
ช่างผมฟรีแลนซ์ไม่ได้มีโอกาสเจอลูกค้าบ่อเหมือนช่างประจำ ดังนั้นทุกครั้งเมื่อได้โอกาสทำผมให้ลูกค้าควรใส่ใจให้เต็มที่ ระลึกเสมอว่าคุณเองคือผู้สร้างโอกาสให้ตัวเองว่าจะอยู่หรือไป ดังนั้นการบริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องทักษะหรือ Service Mind ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ ยิ่งลูกค้าถามถึงคุณมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นเครื่องยืนยันความมั่นคงในอาชีพฟรีแลนซ์ของคุณ
4. มีภาพลักษณ์ที่ชัดเจน
ช่างผมฟรีแลนซ์เข้าร้านไม่กี่ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้นควรต้องสร้างภาพลักษณ์และตัวตนของตัวเองให้เป็นที่จดจำ ให้ลูกค้าจำได้อย่าได้ทำตัวจืดจางเป็นเด็ดขาด ที่สำคัญต้องเป็นภาพลักษณ์ในแง่ดี แต่งตัวให้เริ่ดหรือให้ลงตัวกับสไตล์ของตัวเอง การพูดการจาน่าคบหา วางตัวทั้งในชีวิตจริและโลกออนไลน์เหาะสม ใครเห็นก็ชอบแน่นอน
5. เข้าร่วมกลุ่มหรือสมาคมช่างผม
ช่างผมฟรีแลนซ์ทำงานคนเดียว แต่ไม่ควรใช้ชีวิตในฐานะช่างผมตามลำพังเด็ดขาด ควรเข้าร่วมกลุ่มหรือสมาคมช่างผมช่างเสริมสวยต่างๆ ไปออกทริปบ้าง ไปอัพเดตหรือพบปะเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันตามงาน Event ต่างๆ บ้าง อย่าลืมว่าคนเหล่านี้คือ Connection ที่จะทำให้คุณได้งาน จำเอาไว้ว่า Connection คือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงว่าคุณทำอะไรได้ แต่ต้องดูว่าคุณรู้จักใครด้วย
ไม่แปลกใจเลยว่าเพราะอะไรแนวคิดเรื่องช่างผมฟรีแลนซ์จึงได้รับความนิยมทั่วโลกมากขึ้นทุกปี สำหรับช่างผมชาวไทยเองที่กำลังมองหาอิสระในการทำงานเป็นทางเลือกอีกช่องทางก็ควรเตรียมตัวให้เหมาะสม และงานของคุณจะมั่นคงอย่างแน่นอน
ที่มา : HJI